การออกกำลังกายผสมผสานแอโรบิคและลิเกฮูลู


💓💓..........ลิเกฮูลู..........💓💓



ที่มาและความสำคัญ

       เนื่องจากในปัจจุบันการออกกำลังกายกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในสังคม โดยมีการประยุกต์วิธีการออกกำลังกายไปในรูปแบบต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการและความสนใจส่วนบุคคล อีกทั้งปัญหาหลักที่เกิดขึ้นคือ วิธีการออกกำลังกายแบบดั้งเดิมอาจไม่ดึงดูดความสนใจของบุคคลทั่วไป ทำให้ผู้คนละเลยการออกกำลังกายไป โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา ทั้งปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านจิตใจ รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยผลเสียที่ตามมานั้นเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ ทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ร่วมกันออกแบบวิธีการออกกำลังแบบใหม่ โดยประยุกต์การเต้นแอโรบิคกับการนำศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองของภาคใต้มาประกอบกัน นั่นคือ “ลิเกฮูลู” ซึ่งเป็นการประยุกต์การออกกำลังกายผสมผสานแบบใหม่ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก
   การออกกำลังกายแบบผสมผสานลิเกฮูลูนี้ เป็นการนำศิลปวัฒนธรรมแบบร่วมสมัยมาประกอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการออกกำลังกายให้กับทุกช่วงวัย ได้ทั้งความสนุกสนาน ความน่าสนใจที่จะทำให้การออกกำลังกายไม่รู้สึกน่าเบื่อ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทยอีกด้วย

การแต่งกาย





      พวกคณะลิเกฮูลูโดยมากเป็นผู้ชาย คณะที่เป็นผู้หญิงไม่นิยม การแต่งกายเดิมใช้เครื่องแต่งกายพื้นเมืองธรรมดา ต่อมามีการประกวดประชันกัน แต่ละคณะจึงคิดขุดเครื่องแบบขึ้นเอง เช่น ลูกคู่แต่งชุดขาว คาดผ้าลิลินัง ใส่หมวกหนีบ ลางคณะแต่งใส่เสื้อยืดเป็นทีมพ่นชื่อคณะติดหน้าอก ศีรษะโพกผ้าก็มี ส่วนคนขับร้องกลอนแต่ละฝ่ายใช้ 1-2คน แต่งกายงามเป็นพิเศษ คือ แต่งชุดสลีแน

เครื่องดนตรี🎵🎺🎻🎹 

        มีกลองรำมะนา 2-4 ใบ และฆ้อง 1 วง เป็นหลัก นอกนั้นอาจมีกลองรำมะนาเล็ก และมีลูกแซ็ก (1-2คู่) เขย่าประกอบจังหวะ บางคณะอาจเพิ่มขลุ่ยและเครื่องดนตรีสมัยใหม่อย่างอื่นเข้าไปด้วย เพื่อให้มีบรรยากาศแปลกใหม่และต่างจากฝ่ายตรงข้าม เดิมลูกคู่มี 7-10 คน ใช้วิธีปรบมือ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นใช้แผ่นโลหะตีแทน เพื่อให้เสียงดังหนักแน่น


ลักษณะการแสดง💃💃💃




        ลิเกฮูลูคณะหนึ่งมีลูกคู่ราว 10 คน ผู้พากษ์ขับร้อง 1-2 คน เวลาเล่นลูกคู่และผู้ร้องขับกลอนจะหันหน้าไปทางผู้ชม ถ้าเป็นการประชันวงจะนั่งเรียงแถวแบ่งเวทีคนละครึ่ง และนั่งหันหน้าไปทางผู้ชมหน้าเวที พวกนักดนตรีจะนั่งอยู่แถวหลังลูกคู่อยู่หน้า การแสดงจะผลัดกันลุกยืนร้องกลอนโต้ตอบกันคนละรอบ ผลัดกันรุก-รับร้องแก้ด้วยคารมเสียดสีกันเป็นที่สนุกสนานสบ อารมณ์ผู้ชม เวลาร้องกลอนดนตรีจะหยุด ทำนองเดียวกับการเล่นลำตัด จังหวะดนตรีมีทั้งช้าและเร็ว คือ ปกติมี ๓ จังหวะ คือ สโลว์ แมมโบร์สโลว์ และจังหวะนาฏศิลป์อินเดีย



ประเภทการเต้นแอโรบิก
     1.แบ่งตามแรงกระแทก
- การเต้นแบบย่อยืดขา โดยไม่มีการยกหรือกระโดด เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพและผู้สูงอายุ
-การเต้นที่มักจะให้มีขาข้างหนึ่งติดพื้นเสมอซึ่งจะลดการกระแทก เน้นการใช้ร่างกายส่วนบนมากขึ้น เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
-การเต้นซึ่งมีการกระแทกของเท้าต่อพื้นอย่างรุนแรง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีสมรรถภาพร่างกายไม่ดีพอ ปัจจุบันไม่นิยมเต้นกัน
-การเต้นที่ผสมระหว่างการเต้นแบบย่อยืดขาและการเต้นซึ่งมีการกระแทกของเท้าต่อพื้นอย่างแรง มีการวิ่งกระโดดขย่ม เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและวัยหนุ่มสาว
     2.แบ่งตามลักษณะของผู้เต้น
-ผู้ที่ไม่เคยเต้นแอโรบิคมาก่อน การฝึกเป็นการฝึกเทคนิคการเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน มีการฝึกระบบประสาทและกล้ามเนื้อบ้าง เพลงช้าใช้เวลาประมาณ 30 นาที ความหนักของการเต้นประมาณ 60% ของชีพจรสูงสุด
-ทำการเปลี่ยนท่าทางต่างๆได้อย่างราบรื่นและซับซ้อนมากชึ้น เล่นนานขึ้น เร็วขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และออกกำลังกายเป็นประจำ ใช้เวลาประมาณ 45นาที ความหนักของการเต้น 70 % ของชีพจรสูงสุด
-ขั้นผู้มีความชำนาญและมีประสบการณ์ มีความยากและซับซ้อน ใช้เวลาในการเล่นครั้งละ 45-60 นาที ความหนักของการเต้นประมาณ 80-90% ของชีพจรสูงสุด

การเต้นแอโรบิคแบบอื่นๆ
-การเต้นแอโรบิคโดยมือถือแฮนด์เวท เพื่อสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน
-การเต้นแอโรบิคโดยมือถือ Xer-Tube ขณะเต้นใช้มือจับปลาย 2 ข้าง ใช้เท้ากดลงตรงกลางเพื่อสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน
-การเต้นแอโรบิคด้วยการก้าวขึ้นลงบนแท่นที่เหมาะสมไปพร้อมกับเสียงดนตรีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ เหมาะสำหรับผู้ออกกำลังกายทุกเพศทุกวัย
-การเต้นแอโรบิคโดยการนำการเดิน การวิ่ง กระโดด ทวิชและการเตะเท้าในน้ำมาประกอบกับเสียงดนตรี เรียกว่า Aquarobics ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิ9

ขั้นตอนการออกกำลังกายแบบแอโรบิก
          การเคลื่อนไหวของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกประกอบด้วยการปฏิบัติ 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีช่วงการปฏิบัติตลอดจนการใช้ช่วงจังหวะของ ดนตรีที่มีความเร็ว ดังนี้
     1.ขั้นอบอุ่นร่างกาย (Warm up)
การอบอุ่นร่างกายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการออกกำลังกาย เพราะเป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้พร้อมที่จะทำงานหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยในการเพิ่มอุณหภูมิของกล้ามเนื้อ เพิ่มจังหวะการเต้น ของหัวใจ เพิ่มมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวได้ดี และเร็วขึ้น กล้ามเนื้อมีการยืดหดตัวมากขึ้น จึงสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บ ที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะออกกำลังกายได้ในขั้นอบอุ่นร่างกายนี้ชีพจรจะมีอัตราการ เต้นสูงขึ้น แต่ไม่เกิน 50-60% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด โดยใช้เวลา ในการอบอุ่นร่างกายประมาณ 5-15 นาทีและใช้จังหวะดนตรีที่มีจังหวะระหว่าง แอโรบิกด๊านซ์ แอโรบิกด๊านซ์ 41 135-140 ครั้ง/นาที(BPM : Beat Per Minute) ซึ่งการอบอุ่นร่างกายแบ่งได้ 2 ขั้นตอน คือ 
     1.1 ขั้นอบอุ่นร่างกายเฉพาะส่วน เป็นการบริหารร่างกาย ด้วยท่ากายบริหารที่มีจังหวะช้าและเบา โดยให้มีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของ ร่างกายที่ต้องการใช้ในขณะออกกำลังกาย และควรใช้ท่าที่ง่าย เช่น การย่ำเท้า การเดิน เป็นต้น ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลาประมาณ 5-7 นาทีเพื่อปรับเปลี่ยน ความหนัก และความเร็วของจังหวะเพลงในการเข้าสู่การออกกำลังกายอย่างช้า ๆ เพื่อปรับระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ และยังเป็นการเพิ่มอัตราการแลกเปลี่ยน ออกซิเจนระหว่างเลือดและกล้ามเนื้ออีกด้วย
     1.2 ขั้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) เป็นช่วงของการยืด เหยียดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ และข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ แขน ไหล่ ลำตัว หลัง สะโพก ต้นขา และน่อง ในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแต่ละส่วนควรใช้ เวลาประมาณ 10 วินาทีเพื่อให้มุมของข้อต่อ และกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเต็มช่วงกว้างตามธรรมชาติของข้อต่อนั้นๆ และเป็นการป้องกันไม่ให้ เกิดการบาดเจ็บจากการเต้นแอโรบิก ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลา 5-7 นาที

     2.ขั้นแอโรบิก (Aerobic Workout)
เป็นการบริหารร่างกายด้วยท่าทางต่างๆ ที่สร้างเป็นชุดด้วย จังหวะที่เร็วขึ้นตามลำดับ มีการยกแขน-ขาสูง และเหยียดอย่างเต็มที่ โดยใช้ เวลาประมาณ 20-30 นาทีซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะสูงตามระดับอัตรา การเต้นของหัวใจที่ตั้งเป้าหมายไว้และควรรักษาระดับความหนักไว้ประมาณ 20-30 นาทีสำหรับความหนัก และเวลาในการเต้นจะแตกต่างกันในแต่ละ บุคคล ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางกาย ความสามารถ และวัยของผู้เต้น ในช่วง การออกกำลังกายนี้ผู้เต้นควรกระทำอย่างสบายๆ หายใจให้ลึก แรง และสะดวก การเป่าลมหายใจออกทางปากจะช่วยให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น และควรมีการ จับชีพจรเพื่อตรวจดูความหนักของการเต้นเป็นระยะๆ ถ้าผู้เต้นรู้สึกเหนื่อยล้า ควรลดความหนักลง แต่ถ้าผู้เต้นมีความจำเป็นจะต้องหยุดเต้นกลางคัน จำเป็นต้อง มีการผ่อนคลายด้วยการย่ำเท้าอยู่กับที่ 3-5 นาทีก่อนที่จะหยุดเพื่อให้ร่างกาย ปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติซึ่งขั้นแอโรบิกจะช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพ การทำงานของหัวใจ ปอด การเผาผลาญไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิต ดีขึ้น และช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดต่างๆ ให้มีความแข็งแรง และมีความ อดทนมากขึ้น ซึ่งจังหวะดนตรีในช่วงนี้ควรมีจังหวะระหว่าง 140-160 BPM (Beat Per Minute) 

     3.ขั้นคลายอุ่นร่างกาย (Cool down) 
หลังการออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้เต้นจำเป็นต้องทำการผ่อนคลาย ความหนักของการเต้นลงอย่างช้าๆ ด้วยท่าทางที่เบาลง จังหวะช้าลง โดยไม่มี การกระตุกแล้วตามด้วยการเหยียดกล้ามเนื้ออย่างช้าๆ และนุ่มนวล ซึ่งการคลายอุ่น ร่างกายนี้จะช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพได้เร็วขึ้น ช่วยลดการสะสมกรดแลกติก ในร่างกาย และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่อีกด้วย ซึ่งขั้นคลายอุ่น ร่างกายสามารถแบ่งได้ 2 ขั้นตอน คือ แอโรบิกแดนซ์
          3.1 ขั้นบริหารกายเฉพาะส่วน (Floor Work) เป็นขั้นตอน ที่ใช้ในการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยการยืดเหยียด กล้ามเนื้อที่ต้องการบริหาร เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง เอว สะโพก และต้นขา เป็นต้น ด้วยท่าง่ายๆ และไม่มีการเกร็ง โดยใช้เวลาในการบริหารกายประมาณ 5-7 นาทีและใช้ดนตรีที่มีจังหวะระหว่าง 155-140 ครั้ง/นาที
       3.2 ขั้นคลายอุ่น (Cool Down) เป็นขั้นตอนในการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หลังการออกกำลังกายให้สามารถปรับสภาพการทำงาน จากระดับที่หนัก ให้ลดลงจนกลับสู่สภาวะปกติทำให้ชีพจรลดลง เลือดสามารถ ถ่ายเทของเสียที่เกิดจากการออกกำลังกายออกมาทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้า หรือ ปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย ช่วยลดการตึงของกล้ามเนื้อและเสริมสร้าง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยใช้เวลาในการคลายอุ่นร่างกาย ประมาณ 5-10 นาทีใช้จังหวะดนตรีประมาณ 120-135 ครั้ง/นาที ในการเต้นแอโรบิกนั้นควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20-50 นาทีด้วยความหนัก 65-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุดในทุกส่วนและทุกระบบของร่างกาย
          
    ในปัจจุบันวิทยาทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น สามารถป้องกันและรักษาโรคต่างๆได้มากมาย ดังนั้นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา
ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้หรือทำให้ทุเลาลงได้ โดยการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร และมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่เหมาะสม การป้องกันเสริมสร้างสุขภาพ เป็นวิธีการที่ได้ผลและประหยัดที่สุดสำหรับการมีสุขภาพที่ดี 

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
1. ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สมรรถภาพการทำงานของหัวใจจะดีขึ้นมาก ถ้าออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอติดต่อกัน 3 เดือน  ชีพจรหรือหัวใจจะเต้นช้าลง ซึ่งจะเป็นการประหยัดการทำงานของหัวใจ
2. ลดไขมันในเลือด เพราะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 
3. เพิ่ม  High  Density  Lipoprotein  Cholesterol (HDL-C) ในเลือด ซึ่งถ้ายิ่งสูงจะยิ่งดีจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
4. ลดความอ้วน เพิ่มกล้ามเนื้อ (แต่น้ำหนักอาจไม่ลด)
5. ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน
6. ช่วยลดความดันโลหิต (สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง) ลดได้ประมาณ 10-15 ม.ม. ปรอท
7. ช่วยทำให้หัวใจ  ปอด  ระบบหมุนเวียนของโลหิต กล้ามเนื้อ เอ็นข้อต่อ กระดูกและผิวหนังแข็งแรงยิ่งขึ้น ช่วยลดความเครียด ทำให้นอนหลับดียิ่งขึ้น ความจำดี  เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ชะลออายุ ช่วยป้องกันอาการปวดหลัง (เพราะกล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น)
8. ป้องกันโรคกระดูกเปราะ โดยเฉพาะสุภาพสตรีวัยหมดประจำเดือน
9. ร่างกายเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงานได้ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการประหยัดการใช้แป้ง (glycogen) ซึ่งมีอยู่น้อย และเป็นการป้องกันโรคหัวใจ
10. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด เช่น ลำไส้ใหญ่ เต้านม ต่อมลูกหมาก
11. ทำให้มีสุขภาพดี ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค


อ้างอิง : 

วุฒิชัยคล้อยแคล้ว.ความสำคัญของการออกกำลังกาย.(ออนไลน์).
แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/jaisorgroup/khwam-sakhay-khxng-kar-xxk-kalang-kay.(14 กุมภาพันธ์ 2564)

ขั้นตอนการเคลื่อนไหวของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการเลือกจังหวะดนตรีประกอบ.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/xxkkalangkaybaebxaerobikdans/home/khan-txn-kar-kheluxnhiw-khxng-kar-xxk-kalang-kar-baeb-xae-ro-bik (14 กุมภาพันธ์ 2564)

areebet.(2010).ก่อเกิดใหม่ ดิเกฮูลู คณะอีแกมะฮ.(ออนไลน์).
แหล่งที่มา : https://deepsouthwatch.org/th/node/1017

เกียรติศักดิ์พลภูมิชัย.หลักการและขั้นตอนการเต้นแอโรบิก.(ออนไลน์).
แหล่งที่มา:https://sites.google.com/a/lukhamhan.ac.th/krutar007/hlak-kar-laea-khan-txn-kar-ten-xae-ro-bik (14 กุมภาพันธ์ 2564)


จัดทำโดย👬👭
นางสาวจันทร์ทิมา  ยั่งยืน         เลขที่ 14
นายฉัตรชัย          ชัยทัศน์        เลขที่ 19
นางสาวชนิตา      นนท์ชาลี      เลขที่ 20
นางสาวชลธิชา   ชุนเกษา        เลขที่ 23 
นายญัตติพงศ์      หงษ์มณี       เลขที่ 28
นางสาวญานิกา   กอธงทอง     เลขที่ 29
นางสาวณัชชา     คุ้มครอง       เลขที่ 31
นายธนทัต            นาใจคง       เลขที่ 41
นายธีรวุฒิ            กำเหนิด       เลขที่ 49
นางสาวมุกลดา    ขันแข็ง        เลขที่ 68
นางสาวศศิธร      ตู้สมบัติ         เลขที่ 86
นางสาวสายชล   เอการัมย์       เลขที่ 94 
นางสาวสุทธิดา   อยู่ดี              เลขที่ 101
นางสาวสุพัตรา   พจนโพธา      เลขที่ 10


ความคิดเห็น